305 จำนวนผู้เข้าชม |
เอกสารประกอบการขออนุญาต
1 | แบบคําขออนุญาต (แบบ ข.1)
2 | แบบแปลนแผนผังบริเวณและรายการประกอบแปลน จํานวน 5 ชุด
3 | รายการคํานวณ 1 ชุด (กรณีที่เป็นอาคารสาธารณะ อาคารพิเศษ หรืออาคารที่ก่อสร้าง ด้วยวัตถุถาวรและวัตถุทนไฟเป็นส่วนใหญ่)
4 | สําเนาใบประกอบวิชาชีพของสถาปนิกและวิศวกรผู้ออกแบบ (กรณีที่เป็นอาคาร ควบคุมตามกฎหมายควบคุมการประกอบวิชาชีพ)
5 | สําเนาโฉนดที่ดิน / น.ส.3 / ส.ค.1
6 | หนังสือแสดงความยินยอมให้ปลูกสร้างอาคารในที่ดิน (กรณีเจ้าของอาคารไม่ได้เป็น เจ้าของที่ดิน ที่อาคารนั้นตั้งอยู่)
7 | หนังสือแสดงความยินยอมให้ปลูกสร้างอาคารชิดเขตที่ดิน (กรณีที่อาคารก่อสร้างชิด เขตที่ดินน้อยกว่า 50 ซม.) หรือใช้ผนังร่วมกัน
8 | หนังสือแสดงความเป็นตัวแทนเจ้าของอาคาร (หรือหนังสือมอบอํานาจ กรณีที่ตัวแทนเจ้าของอาคารเป็นผ้ขออนุญาต)
9 | สําเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนวัตถุประสงค์ และผู้มีอํานาจลงชื่อแทนนิติบุคคลผู้ขออนุญาตที่ออกให้ไม่เกิน 6 เดือน
10 | หนังสือแสดงวาเป็นผู้จัดการหรือผู้แทนซึ่งเป็นผู้ดําเนินกิจการของนิติบุคคล (กรณีที่นิติบุคคลเป็นผู้ขออนุญาต)
ขั้นตอนการขออนุญาตการก่อสร้าง
1 | เมื่อเอกสารทุกอย่างพร้อม จึงสามารถยื่นขออนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น เช่น
- ผู้ว่าราชการ
- นายกเทศมนตรี
- นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)
- นายกองค์การบริหารส่วนตําบล (อบต.)
2 | เมื่อยื่นเอกสารตามข้อ 1 เรียบร้อยจะมีการนัดตรวจสถานที่ และตรวจเอกสารที่ยื่นคําขอไว้ หากเอกสารถูกต้องเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะออกใบอนุญาตให้ภายในเวลาไม่เกิน 45 วัน
3 | เมื่อได้รับใบอนุญาตการก่อสร้างแล้ว ถือว่าจบขั้นตอนการขออนุญาต สามารถลงมือ ก่อสร้างได้ตามที่ได้รับอนุญาต ซึ่งต้องทําการก่อสร้างตามระยะเวลาที่กำหนดในใบอนุญาต
ในกรณีที่ไม่สามารถก่อสร้างบ้านหรืออาคาร ให้เสร็จในเวลาที่กำหนดเจ้าของบ้านสามารถดําเนินการขอต่ออายุใบอนุญาตได้
เห็นเอกสารทั้งหมดแล้วรู้เลยว่าเยอะมากๆ แต่หมดกงวลเรื่องการยื่นขออนุญาตการก่อสร้างบ้านไปได้เลย เรามีการบริการอํานวยความสะดวกในการขออนุญาต ปลูกสร้างกับหน่วยงานราชการให้กับลูกค้าที่สร้างบ้านกับแลนดี้โฮม
ข้อมูลอ้างอิงจาก : กรมโยธาธิการและผังเมือง , ddproperty